งานวัจัย

งานวัจัย

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3


บทที่ 3
วิธีดำเนินการ
                3.1 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
                ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษาที่ 2555 ชันปีที่ 5 จำนวน 30 คน โดยจะศึกษาประชากรดังกล่าวจากนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
                3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                แบบสอบถามการศึกษาพฤติกรรมการศึกษาในการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ ของนักรเยนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
                การสร้างเครื่องมือผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เป็นลำดับขั้นตอนดังนี้
                ขั้นวางแผนแบบสอบถาม    ผู้วิจัยได้วางแผนลำดับขั้นตอนไว้ดังนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษาบทความของอาจารย์ที่ปรึกษา ในสถานบันต่างๆ จากเอกสาร ตำรา และปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อกำหนดกรอบเบื้องต้น
ขั้นที่ 2 ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือทางสังคมตลอดจนภาพรวมปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้น และนำข้อมูลที่ได้รวมกับข้อมูลตอนตอนที่ 1มาเลือกซื้อมือถือสำหรับการวิจัยต่อไป
ขั้นที่ 3 รวบรวมข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 มากำหนดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์มือถือทางสังคม
3.3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลมีวิธีการ ดังนี้
1.ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ แล้วจึงออกแบบแบบสอบถามพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ
2.สร้างแบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 3หัวข้อหลัก ดังนี้สถานที่ที่นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือช่วงเวลาที่นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือ จำนวน 30 คน
3.แจกแบบสอบถามให้นักเรียนกรอก และเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ข้อมูล
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล     
เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จึงได้นำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม จากนั้นจึงได้แจ้งระดับคะแนน วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอ โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ค่าสถิติ
         ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพและรายระเอียดส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
         ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ซื้อโทรศัพท์มือถือของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้     
                วิเคราะห์ โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ โดยนำมาหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 5 ระดับ
                น้ำหนักการตัดสินใจ คะแนน
มีความต้องการมากที่สุด     5
มีความต้องการมาก            4
มีความต้องการปานกลาง    3
มีความต้องการน้อย             2
มีความต้องการน้อยที่สุด     1


เกณฑ์แปลความหมายของคะแนน
                เพื่อให้การแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ข้อมูลสอดคล้องกับความเป็นจริง ผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์การแปลความหมายของคะแนนเฉลี่ยตามหลักเกณฑ์ของประคองกรรณสูต(2528, 70) ดังนี้
1.00 – 5.00  หมายถึง อยู่ในระดับมากที่สุด  
3.50 – 4.49   หมายถึง อยู่ในระดับมาก
2.50 – 3.49   หมายถึง อยู่ในระดับปานกลาง
1.50 – 2.49   หมายถึง อยู่ในระดับน้อย
1.00 – 1.49   หมายถึง อยู่ในระดับน้อยมาก               
เปรียบเทียบ พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษา เพศชายและหญิงที่มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ
       ตอนที่ 3 สรุปข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม 

1 ความคิดเห็น: