งานวัจัย

งานวัจัย

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปกนอก



พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
แผนการเรียนวิทย์-คณิต โรงเรียนพะเยาพิทยาคม

โดย

นาย วรปรัชญ์  ถิ่นวัฒนากูล  เลขที่ 7    
นางสาว  กมลชนก  รุ่งระวี  เลขที่ 17
นางสาว วริศรา  จันทร์เที่ยง เลขที่ 33
                                                                                                                                                                                                                                                                                           
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / 9



การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) รหัสวิชา ว32286
ตามหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม

บทคัดย่อ



ชื่องานวิจัย  พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียน วิทย์-คณิต โรงเรียนพะเยาพิทยาคม

ผู้จัดทำ                   1.นาย                    วรปรัชญ์               ถิ่นวัฒนากูล         เลขที่ 7
                                2.นางสาว             กมลชนก               รุ่งระวี                    เลขที่ 17
                                3.นางสาว             วริศรา                    จันทร์เที่ยง            เลขที่ 33
                                มัธยมศึกษาปีที่ 5  ห้อง   9
โรงเรียน                พะเยาพิทยาคม    อำเภอ เมือง   จังหวัด พะเยา
ครูที่ปรึกษา           ครู ยิ่งศักดิ์             กระจ่างแจ้ง

 


บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียน วิทย์-คณิต โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ผู้จัดทำนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจ รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์และตรวจสอบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5แผนการเรียน วิทย์-คณิต โรงเรียนพะเยาพิทยาคม มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอย่างไรรวมทั้งหาต้นต่อหาปัญหาที่เกิดขึ้นและแนวทางวิธีการแก้ไข เพื่อหาข้อสรุปที่แท้จริงของ การวิจัย โดยมีกลุ่มนักเรียนตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียน วิทย์-คณิต โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบ สอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต


บทที่ 1


บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญ
                ปัจจุบันในโรงเรียนพะเยาพิทยาคมมีการใช้โทรศัพท์มือถือกันอย่างแพร่หลาย โดยโทรศัพท์มือถือที่นักเรียนนั้นอาจจะมีราคาสูงและต่ำตามฐานะของแต่ละคนจึงอาจมีเกิดผลกระทบต่อผู้ปกครองของนักเรียนที่ใช้โทรศัพท์มือถือราคาแพงรวมถึงใช้จ่ายรายวันหรือรายสัปดาห์ในการจ่ายค่าโทรศัพท์มือถือและการใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายด้วย
                ปัญหาในการใช้โทรศศัพท์มือถือเป็นเวลานานหรือซื้อโทรศัพท์มือถือราคาแพง อาจจะเป็นผลกระทบทั้งตัวนักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียนเองทำให้เกิดผลเสียทางด้านการเงินและสุขภาพจิต ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงได้จัดทำงานวิจัยชุดนี้ขึ้นเพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือและผลกระทบของการใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อสำรวจการใช้งานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียน วิทย์-คณิต

                วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
                1.เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานโทรศัพ์มือถือและผลกระทบของนักเรียนชั้น  มัธยมศึกษาปีที่ 5  สายวิทย์-คณิต
                2.เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่านักเรียนในโรงงเรียนพะเยาพิทยาคมมีความสนใจในเรื่องโทรศัพท์มือถือ ทำอะไร เพื่ออะไร และนำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาและแก้ไขต่อไป
                สมมติฐานงานวิจัย
-นักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคมมีการใช้โทรศัพท์มือถือตามกระแสนิยม
-นักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคมใช้โทรศัพท์เป็นเวลานานทำให้เสียสุขภาพกายและสุขภาพจิต
-ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคมเสียค่าเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือของนักเรียนเป็นจำนวนมาก
 -นักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคมใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสาร ทั้งเพื่อความบันเทิงและ ความสะดวกสบาย

                นิยามศัพท์เฉพาะ
             โทรศัพท์มือถือ (call phone) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่านโทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือมีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน
                Wi-fi คือ เครือข่ายไร้สาย มักใช้กับระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นในองค์กรหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ขอบเขตของงานวิจัย
1.   ขอบเขตด้านประชากรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทย์-คณิต จำนวน 30 คน
2.   ขอบเขตด้านเนื้อหาจะศึกษาถึงด้านพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่มีผลดีและผลเสียต่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3.   ขอบเขตด้านตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เพศ ห้องเรียนที่เรียนอยู่
4.   ขอบเขตด้านพื้นที่ในการศึกษา คือ จะเก็บตัวอย่างจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สาย วิทย์-คณิต โรงเรียนพะเยาพิทยาคม


บทที่ 2


บทที่ 2

แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
                2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
               การศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่ใช้และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือที่สามารถส่งข้อความโต้ตอบกันได้อย่างทันที ได้ใช้แนงคิดแบบทฤษฎีและแนวความคิดในการศึกษาต่อไป
                2.1.1 ทฤษฎีอุปสงค์ (Demand theory)
                ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคหรือความพอใจของผู้บริโภคสินค้านั้น ผู้บริโภคสามารถแสดงความพอใจที่เกิดขึ้นหรือได้รับจากการบริโภคสินค้าออกมาในรูปแบบของอรรถประโยชน์(Utility) ดังนั้นอรรถประโยชน์จึงหมายถึงความพอใจที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคจากการได้มาได้ใช้ได้บริโภค หรือได้ประโยชน์จากสินค้าและบริการผู้บริโภคจะจัดสรรเงินที่ตนเองมีอยู่อย่างจำกัดในการซื้อสินค้าและบริการค้าและบริการต่าง ๆเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุดหรือได้รับอรรถประโยชน์สูงสุดนั้นเอง
            ในการกำหนดอุปสงค์ของบริโภคนั้น จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลากหลายชนิด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ จะกำหนดปริมาณการซื้อสินค้าของผู้บริโภค และปัจจัยแต่ละชนิดจะมีอิทธิพลต่อปริมาณ การซื้อสินค้าของผู้บริโภคมากน้อยแตกต่างกันไป การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแต่ละชนิดกับปริมาณการซื้อสินค้า สามารถแสดงได้โดยฟังก์ชันอุปสงค์(Demand Function) ในงานวิจัยชิ้นนี้ฟังก์ชันอุปสงค์ต่อโทรศัพท์มือถือกำหนดโดย
            1.ราคาโทรศัพท์มือถือ ราคาสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ เป็นสิ่งที่โดยทั่วไปแล้วผู้บริโภคจะคำนึงถึงเป็นอันดับแรกเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ ผู้วิจัยต้องการทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาโทศัพท์มือถือกับปริมาณการตัดสินใจซื้อ ตามทฤษฎีอุปสงค์แล้ว ถ้าราคาสินค้าต่ำปริมาณการซื้อก็จะสูง กล่าวคือจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
              2.ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องนอจากการศึกษาปัจจัยราคาโทรศัพท์มือถือดังกล่าวแล้ว ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องก็มีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคด้วย เมื่อราคาสินค้าชนิดอื่นเปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อสินค้าที่สนใจ ซึ่งเป็นผลของการทดแทน ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการซื้อสินค้ากับราคาสินคาชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สินค้าชนิดอื่นกับสินค้าที่สนใจอยู่ จะเป็นสินค้าทดแทนกัน แต่ถ้าเป็นทิศทางตรงกันข้าม จะเป็นสินค้าที่ใช้ควบคู่กัน
                3.รสนิยมของผู้บริโภค รสนิยมของผู้บริโภคนั้นสำคัญมาก เพราะผู้บริโภคแต่ละคนจะมีรสนิยมในการบริโภคที่แตกต่างกัน รสนิยมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหรือธุรกิจ เพราะรสนิยมจะเกิดขึ้นช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วหมดไปหรือถูกแทนด้วยรสนิยมใหม่โทรเฉพาะโทรศัพท์มือถือ นอกจากฟังก์ชันการทำงานที่ทันสมัยเป็นจุดชายแล้ว รูปลักษณ์และการออกแบบก็เป็นปัจจัยในการดึงดูดผู้บริโภคด้วย


บทที่ 3


บทที่ 3
วิธีดำเนินการ
                3.1 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
                ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษาที่ 2555 ชันปีที่ 5 จำนวน 30 คน โดยจะศึกษาประชากรดังกล่าวจากนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
                3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                แบบสอบถามการศึกษาพฤติกรรมการศึกษาในการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ ของนักรเยนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
                การสร้างเครื่องมือผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เป็นลำดับขั้นตอนดังนี้
                ขั้นวางแผนแบบสอบถาม    ผู้วิจัยได้วางแผนลำดับขั้นตอนไว้ดังนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษาบทความของอาจารย์ที่ปรึกษา ในสถานบันต่างๆ จากเอกสาร ตำรา และปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อกำหนดกรอบเบื้องต้น
ขั้นที่ 2 ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือทางสังคมตลอดจนภาพรวมปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้น และนำข้อมูลที่ได้รวมกับข้อมูลตอนตอนที่ 1มาเลือกซื้อมือถือสำหรับการวิจัยต่อไป
ขั้นที่ 3 รวบรวมข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 มากำหนดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์มือถือทางสังคม
3.3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลมีวิธีการ ดังนี้
1.ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ แล้วจึงออกแบบแบบสอบถามพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ
2.สร้างแบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 3หัวข้อหลัก ดังนี้สถานที่ที่นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือช่วงเวลาที่นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือ จำนวน 30 คน
3.แจกแบบสอบถามให้นักเรียนกรอก และเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ข้อมูล
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล     
เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จึงได้นำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม จากนั้นจึงได้แจ้งระดับคะแนน วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอ โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ค่าสถิติ
         ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพและรายระเอียดส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
         ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ซื้อโทรศัพท์มือถือของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้     
                วิเคราะห์ โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ โดยนำมาหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 5 ระดับ
                น้ำหนักการตัดสินใจ คะแนน
มีความต้องการมากที่สุด     5
มีความต้องการมาก            4
มีความต้องการปานกลาง    3
มีความต้องการน้อย             2
มีความต้องการน้อยที่สุด     1


เกณฑ์แปลความหมายของคะแนน
                เพื่อให้การแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ข้อมูลสอดคล้องกับความเป็นจริง ผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์การแปลความหมายของคะแนนเฉลี่ยตามหลักเกณฑ์ของประคองกรรณสูต(2528, 70) ดังนี้
1.00 – 5.00  หมายถึง อยู่ในระดับมากที่สุด  
3.50 – 4.49   หมายถึง อยู่ในระดับมาก
2.50 – 3.49   หมายถึง อยู่ในระดับปานกลาง
1.50 – 2.49   หมายถึง อยู่ในระดับน้อย
1.00 – 1.49   หมายถึง อยู่ในระดับน้อยมาก               
เปรียบเทียบ พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษา เพศชายและหญิงที่มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ
       ตอนที่ 3 สรุปข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม 

บทที่ 4


บทที่ 4
ผลการศึกษา



จากการสำรวจ และรวบรวมข้อมูล พบว่า โทรศัพท์มือถือที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ Sumsung (33% ) รองลงมาคือ Nokia (26%) และ Black berry และ iphone และอื่นๆ (13%) เท่ากัน ตามลำดับ


                จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลพบว่า ผลกระทบที่มาจากการใช้โทรศัพท์มือถือมากที่สุดคือ ปวดหู (53%) อันดับที่ 2 ได้แก่          ปวดหัว(33%) และอื่นๆ(17%)ตามลำดับ


บทที่ 5



บทที่5 
สรุปผลอภิปรายและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย
จากการศึกษาการวิจัยนักเรียนแผนการเรียนวิทย์-คณิต โรงเรียนพะเยาพิทยาคม พบว่านักเรียนส่วนหนึ่งใช้โทรศัพท์มือถือยี่ห้อ Sumsung มากที่สุด และใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันมากที่สุดโดยจะซื้อเมื่อที่โทรศัพท์เสียและสูญหายมากที่สุด เวลาที่ใช้โทรศัพท์ของนักเรียนกลุ่มนี้น้อยกว่า 30 นาที และเสียเงินในการเติมเงินเป็นจำนวน20-100 บาท เมื่อใช้โทรศัพท์มือถือแล้วนักเรียนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเกิดอาการปวดหูเป็นอย่างมาก และประโยชน์ที่ได้จากการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนกลุ่มนี้คือความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร
ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไปที่จะปรับใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้รู้จักและสังเกตการใช้ที่เพียงพอแก่ความต้องการ เนื่องจากคนส่วนใหญ่มีความฟุ่มเฟือยในการใช้โทรศัพท์ตามราคาและความนิยม ซึ่งเป็นผลเสีย
อภิปรายผลการวิจัย
                จากการวิจัย โดยใช้นักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม แผนการเรียน วิทย์-คณิต จำนวน 30คน ในระหว่างวันที่ 16-23 สิงหาคม 2555 ในการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้งานโทรศัพท์มือถือ พบว่า     โทรศัพท์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Sumsung ได้คะแนนเท่ากับ 33%  รองลงมาคือ Nokia  26% และ iphone กับ Black Berry 13% เท่ากัน
      วัตถุประสงค์หลักในการใช้โทรศัพท์มือถือมากที่สุดคือ เพื่อการติดต่อสื่อสาร และผลกระทบที่มาจากการใช้โทรศัพท์มือถือมากที่สุดคือ ปวดหู ปวดหัว และอื่นๆ ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ
<!--[if !supportLists]-->1. ควรมีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายให้มากกว่านี้
<!--[if !supportLists]-->2.  ควรมีการให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย ถึง ประโยชน์ และโทษของการใช้อินเตอร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือ